เนื่องจากสื่อฯ มีหลายรูปแบบ เรื่องแรกเลยคือประเภทของสื่อที่เราเลือก โดยหลักการแล้วจะต้องเลือกประเภทของสื่อให้เหมาะสมกับเด็ก เหมาะสมกับเนื้อหา/ธรรมชาติวิชาของกลุ่มสาระที่รับผิดชอบ(ในความเป็นจริงต้องเลือกที่เราถนัด/ทำได้ด้วย) ถ้าในสภาพปัจจุบันสื่อประเภท ICT จัดว่าเป็นสื่อที่ทันสมัยและยังอยู่ในช่วงที่เรียกว่า แปลกใหม่สำหรับนักเรียน(รวมถึงคนตรวจ) อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปถึงสื่อ ICT ตัวเนื้อหาก็ต้องมาจากเอกสารอยู่ดี ในที่นี้จึงขอแนะนำสื่อประเภทเอกสารประกอบการสอน(บางสำนักเรียกเอกสารประกอบการเรียน) ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่สื่อ ICT ได้
ขั้นตอนการสร้าง
ก่อนอื่นต้องศึกษารูปแบบ/องค์ประกอบของเอกสารประกอบการสอนก่อน ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านเขียนไว้แล้ว แต่โดยรวมสื่อประเภทนี้ควรจะต้องมี
แบบทดสอบก่อนเรียน..เนื้อหา(เป็นเรื่องๆ)..แบบฝึก(แต่ละเรื่อง)..แบบทดสอบหลังเรียน ส่วนที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้มาตรฐานตามหลักวิชาคือ แบบทดสอบมีคุณภาพ เนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชา สื่อฯผ่านการทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ ซึ่งมีวิธีการพัฒนาดังนี้
แบบทดสอบก่อนเรียน..เนื้อหา(เป็นเรื่องๆ)..แบบฝึก(แต่ละเรื่อง)..แบบทดสอบหลังเรียน ส่วนที่นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้มาตรฐานตามหลักวิชาคือ แบบทดสอบมีคุณภาพ เนื้อหาถูกต้องตามหลักวิชา สื่อฯผ่านการทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพ ซึ่งมีวิธีการพัฒนาดังนี้
ก่อนลงมือทำ ขั้นแรก ต้องศึกษาหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หลักการ/จิตวิทยาการเรียนรู้ รวมถึงความแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วรวบรวมเนื้อหาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ นำมาเรียบเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับที่กล่าวมา จากนั้นจัดทำแบบฝึก(หรือจะใช้คำในชื่ออื่นเช่นแบบฝึกหัดก็ได้) และแบบทดสอบ(เพื่อใช้สำหรับเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน-โดยจัดทำจำนวนข้อสอบให้มีจำนวนมากกว่าจำนวนที่เราต้องการไว้ก่อน) สุดท้ายของขั้นนี้คือเตรียมจัดลำดับรูปเล่มของเอกสารไว้(พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข)
นี่เป็นขั้นตอนเบื้องต้น ลำดับต่อไป เตรียมนำเครื่องมือไปหาคุณภาพ ในที่นี้ ได้เครื่องมือ 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง(สื่อเอกสารประกอบการเรียน) กับเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล(แบบทดสอบ)
นี่เป็นขั้นตอนเบื้องต้น ลำดับต่อไป เตรียมนำเครื่องมือไปหาคุณภาพ ในที่นี้ ได้เครื่องมือ 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ทดลอง(สื่อเอกสารประกอบการเรียน) กับเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล(แบบทดสอบ)
หาคุณภาพของแบบทดสอบ
1) การหาค่าความตรง(Validity) ที่นิยมคือ การหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน ด้วยวิธีคำนวณค่าดัชนีของความสอดคล้อง(IOC) 2) การหาค่าความยากง่าย(P)และค่าอำนาจจำแนก(r) วิธีการคือนำแบบทดสอบที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสื่อ และมีจำนวนมากกว่าข้อสอบที่จะใช้ในสื่อ นำไปทดสอบกับนักเรียนระดับเดียวกัน(ที่ไม่ใช่กลุ่มที่จะใช้สื่อ) ตามหลักวิชาบอกว่าจำนวนนักเรียนที่นำข้อสอบไปทดสอบต้องมากกว่า 100 คน(บางตำรา บอก 30 คนก็ได้) จากนั้นนำผลการสอบมาคำนวณหาค่า P,r ถ้าทำเองไม่ได้ก็ต้องจ้างคนทำ(ทำเองก็ไม่ยากมีโปรแกรมฟรีของ อ.สาคร แสงผึ้ง http://www.nitesonline.net/ ผู้เขียนทดลองแล้วไม่ยาก) เมื่อได้ผลการคำนวณแล้วก็นำข้อสอบมาเลือกข้อที่ใช้ได้ (ค่า P ระหว่าง .20-.80 ที่ดีที่สุดคือ .50 ,ค่า r มีค่า .20 ขึ้นไป ค่านี้ยิ่งมากยิ่งดี) ตามจำนวนที่เราจะใช้ในสื่อของเรา แล้วเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ในการเขียนรายงาน
3) หาค่าความเที่ยง(Reliability) หรือความเชื่อมั่น โดยนำแบบทดสอบที่ได้จากข้อ1-2 ไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มอื่นอีกครั้ง จากนั้นก็นำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 หรือ KR-21 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน(สำหรับแบบทดสอบที่ให้คะแนนเป็น 0 กับ 1)
(แบบทดสอบที่ได้นี้ใช้เป็นทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน แต่สลับข้อหรือสลับตัวเลือก หรือทั้งสองอย่าง)
1) การหาค่าความตรง(Validity) ที่นิยมคือ การหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3-5 คน ด้วยวิธีคำนวณค่าดัชนีของความสอดคล้อง(IOC) 2) การหาค่าความยากง่าย(P)และค่าอำนาจจำแนก(r) วิธีการคือนำแบบทดสอบที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสื่อ และมีจำนวนมากกว่าข้อสอบที่จะใช้ในสื่อ นำไปทดสอบกับนักเรียนระดับเดียวกัน(ที่ไม่ใช่กลุ่มที่จะใช้สื่อ) ตามหลักวิชาบอกว่าจำนวนนักเรียนที่นำข้อสอบไปทดสอบต้องมากกว่า 100 คน(บางตำรา บอก 30 คนก็ได้) จากนั้นนำผลการสอบมาคำนวณหาค่า P,r ถ้าทำเองไม่ได้ก็ต้องจ้างคนทำ(ทำเองก็ไม่ยากมีโปรแกรมฟรีของ อ.สาคร แสงผึ้ง http://www.nitesonline.net/ ผู้เขียนทดลองแล้วไม่ยาก) เมื่อได้ผลการคำนวณแล้วก็นำข้อสอบมาเลือกข้อที่ใช้ได้ (ค่า P ระหว่าง .20-.80 ที่ดีที่สุดคือ .50 ,ค่า r มีค่า .20 ขึ้นไป ค่านี้ยิ่งมากยิ่งดี) ตามจำนวนที่เราจะใช้ในสื่อของเรา แล้วเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ในการเขียนรายงาน
3) หาค่าความเที่ยง(Reliability) หรือความเชื่อมั่น โดยนำแบบทดสอบที่ได้จากข้อ1-2 ไปทดสอบกับนักเรียนกลุ่มอื่นอีกครั้ง จากนั้นก็นำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 หรือ KR-21 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน(สำหรับแบบทดสอบที่ให้คะแนนเป็น 0 กับ 1)
(แบบทดสอบที่ได้นี้ใช้เป็นทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน แต่สลับข้อหรือสลับตัวเลือก หรือทั้งสองอย่าง)
ต่อไปจัดทำต้นฉบับ อันนี้ก็ต้องมีตามรูปแบบ ซึ่งควรได้แก่
ปกนอก...ปกใน...คำนำ...สารบัญ...คำชี้แจง...แบบทดสอบก่อนเรียน...เนื้อหา(ใบความรู้)...แบบฝึก...เนื้อหา(ใบความรู้)...แบบฝึก...
แบบทดสอบหลังเรียน
แบบทดสอบหลังเรียน
เอกสารอ้างอิง...ภาคผนวก(ถ้ามี..อาจเป็นเฉลย/คู่มือครู-ส่วนนี้จะตัดออกถ้าเป็นเอกสารสำหรับนักเรียน หรือจัดทำคู่มือครูแยกต่างหากก็ได้)
เมื่อได้ต้นฉบับแล้วเราต้องนำไป
หาประสิทธิภาพของสื่อ
วิธีการ อย่างง่ายเลยคือนำสื่อ(เอกสารประกอบการสอน)พร้อมแบบตรวจหรือประเมินไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ(คศ.3 หรือ ป.โท สาขาเรา..บางคน
เรียก ผู้เชี่ยวชาญ) 3 หรือ 5 คนดูความตรงเชิงเนื้อหา (แบบตรวจหรือประเมินเท่าที่พบมี สองแบบ คือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กับ ค่าดัชนีของความสอดคล้อง IOC 3 ระดับ) ตรงนี้ก็เรียกได้ว่า หาค่าความตรง(หรือความเที่ยงตรง)ของเครื่องมือ
หาประสิทธิภาพของสื่อ
วิธีการ อย่างง่ายเลยคือนำสื่อ(เอกสารประกอบการสอน)พร้อมแบบตรวจหรือประเมินไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ(คศ.3 หรือ ป.โท สาขาเรา..บางคน
เรียก ผู้เชี่ยวชาญ) 3 หรือ 5 คนดูความตรงเชิงเนื้อหา (แบบตรวจหรือประเมินเท่าที่พบมี สองแบบ คือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กับ ค่าดัชนีของความสอดคล้อง IOC 3 ระดับ) ตรงนี้ก็เรียกได้ว่า หาค่าความตรง(หรือความเที่ยงตรง)ของเครื่องมือ
ถ้าจะให้แน่นอนขึ้นอีกก็ต้องนำสื่อนี้ไปทดลองใช้จริงกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มที่เราจะทดลอง อย่างน้อย 30 คน(ตามตำรา) แล้วนำผลมาหาค่า E1/E2 (หารายละเอียดจากหนังสือวิจัย) เมื่อได้ค่า E1/E2 มากกว่าที่เราตั้งไว้(ปกติตั้งกันที่ 80/80) ก็ถือว่า สื่อนี้ผ่านการหาประสิทธิภาพค่อนข้างสมบูรณ์ หรือยอมรับได้ จึงสามารถนำไปใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ (จะว่าไป วิธีการนี้ บางคนไม่ยอมรับเพราะเชื่อได้ยากว่าทำตามหลักวิชาจริง แต่อย่างน้อยควรทดลองใช้ก่อนเพื่อหาข้อบกพร่อง)
ที่เล่ามาเป็นกระบวนการคร่าว ๆ (ซึ่งไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย)ในการจัดทำสื่อประเภทเอกสาร ที่สามารถนำไปใช้จริงได้ที่อยู่ในรูปของสื่อ"เอกสารประกอบการสอน"
หากว่าเราต้องการนำไปพัฒนาเป็นสื่อ ICT ก็ทำได้เลยเนื่องจากมีโครงสร้าง เนื้อหาครบถ้วนแล้ว(สื่อเว็บเพจที่ผู้เขียนนำเสนอก็ล้วนมาจากเอกสารทั้งสิ้น) แต่...เมื่อเป็นสื่อ ICT แล้ว
ก็ต้องนำไปหาประสิทธิภาพของสื่อตามวิธีการข้างต้นใหม่(ให้ผู้ทรงคุณวุฒิดู..หา E1/E2) และถ้าคิดจะส่งเป็นผลงานทางวิชาการต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่เริ่มทำจนสิ้นสุดการใช้ไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนรายงาน
หากว่าเราต้องการนำไปพัฒนาเป็นสื่อ ICT ก็ทำได้เลยเนื่องจากมีโครงสร้าง เนื้อหาครบถ้วนแล้ว(สื่อเว็บเพจที่ผู้เขียนนำเสนอก็ล้วนมาจากเอกสารทั้งสิ้น) แต่...เมื่อเป็นสื่อ ICT แล้ว
ก็ต้องนำไปหาประสิทธิภาพของสื่อตามวิธีการข้างต้นใหม่(ให้ผู้ทรงคุณวุฒิดู..หา E1/E2) และถ้าคิดจะส่งเป็นผลงานทางวิชาการต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่เริ่มทำจนสิ้นสุดการใช้ไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนรายงาน
จะเห็นว่าการหาคุณภาพของแบบทดสอบ, การหาประสิทธิภาพของสื่อ เป็นเรื่องสำคัญที่จะบ่งบอกว่าเมื่อนำสื่อนั้นไปใช้แล้วจะเกิดประสิทธิผลได้จริง ผู้สร้างจึงละทิ้งขั้นตอนนี้ไม่ได้หากจะส่งสื่อนั้นเป็นผลงานทางวิชาการ
ข้อที่ควรคำนึง -การพิจารณาเลือกสื่อ/นวัตกรรมใด ๆ ต้องคำนึงถึงว่าสื่อหรือนวัตกรรมนั้น มีหลักการ/ทฤษฎีรองรับ(ข้อนี้สำคัญ เพราะจะช่วยให้เขียนรายงานฯ ง่ายขึ้น) -มาตรฐานคุณภาพของสื่อหนึ่ง ๆ นอกจากจะอยู่ที่ความถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว ความสวยงาม น่าสนใจ แปลกใหม่ ก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ต้องพิจารณา
การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่นำเสนอก่อนหน้านี้เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนเห็นว่าใช้กันบ่อย แท้จริงแล้วยังมีวิธีการต่าง ๆ ในการหาประสิทธิภาพของสื่ออีกหลายวิธี
ในที่นี้จะขอนำมาเล่าเพิ่มเติม ซึ่งความจริงเนื้อหาเหล่านี้ก็มีอยู่แล้วในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ที่นำมาเสนอนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนครูนะครับ
การหาประสิทธิภาพของสื่อ นอกจากการตรวจสอบเนื้อหา/รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์ยอมรับได้คือ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นสอดคล้อง และ เกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อโดยวิเคราะห์คะแนนจาก สูตร E1/E2 ซึ่งเกณฑ์ยอมรับได้คือ ถ้ากลุ่มสาระที่เน้นความรู้ความจำ ค่า E1/E2 มีค่า 80/80 ขึ้นไป ส่วนกลุ่มสาระที่เน้นทักษะ ค่า E1/E2 มีค่า 70/70 ขึ้นไปและ ค่า E1/E2ต้องมีค่าต่างกันไม่เกินร้อยละ 5 (อันนี้เพิ่มเติมจากที่เล่าไปแล้ว)ในที่นี้จะขอนำมาเล่าเพิ่มเติม ซึ่งความจริงเนื้อหาเหล่านี้ก็มีอยู่แล้วในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ที่นำมาเสนอนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนครูนะครับ
วิธีอื่น ๆ ที่พบในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่
1 ใช้วิธีการบรรยายคุณภาพหรือเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการหรือนวัตกรรมหลังจากทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก ๆ แล้ว อันนี้ต้องมีความสามารถในการบรรยายหน่อย
2 การใช้วิธีคำนวณจากค่าร้อยละ หรือ P1:P2 เช่น P1:P2 = 80:70 หมายถึงกำหนดคะแนนจุดผ่านร้อยละ 70 มีนักเรียนร้อยละ 80 สอบผ่าน
3 การหาค่าดัชนีประสิทธิผล โดยใช้สูตร ที่นำ ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ลบด้วยร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน แล้วหารด้วยร้อยละของคะแนนเต็มหลังเรียน ลบด้วยร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เกณฑ์ยอมรับได้ คือค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป
(ฟังดูแล้วอาจจะงง หาอ่านได้จากหนังสือ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ และ หนังสือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของสำนักนิเทศฯ สปช.)
สามวิธีที่เล่าเพิ่มเติมนี้ ผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยใช้ และไม่ค่อยเห็นแพร่หลาย(ใครเห็นที่ไหนช่วยบอกด้วย)
ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงขั้นตอนการพัฒนาสื่อก่อนนำไปใช้จริงเท่านั้น ยังมีขั้นตอนสำคัญคือการนำไปใช้จริง ๆ กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปผลการใช้เป็นอันดับสุดท้าย หากมีเวลาก็จะมาเล่าสู่กันฟังต่อรวมถึงแนวการเขียนรายงานตามรูปแบบของผู้เขียน
นะครับ
หน้านี้จะพูดถึง การเขียนรายงานการพัฒนานวัตกรรม หรือ รายงานการใช้นวัตกรรม ตามแต่จะเรียกกัน แต่ก็คงไม่ลงลึกถึงรายละเอียด เพราะคงจะเล่ากันแบบละเอียดจริง ๆ ไม่ได้ เพื่อนครูสามารถหาอ่านแบบละเอียดจากเอกสารทางวิชาการ หรือ ผลงานทางวิชาการที่มีผู้จัดทำไว้แล้วจะดีกว่า จะขอเล่าภาพรวมกว้าง ๆ ที่เคยเจอ อีกอย่าง อยากบอกว่า เล่าสู่กันจากประสบการณ์ที่ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ทำมาเท่านั้น รูปแบบต่าง ๆ ที่เจอแต่ละสำนักก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว เราชอบใจแบบไหนก็ใช้แบบนั้น
การเขียนรายงาน คือการเขียนบรรยายสิ่งที่เราทำมาทั้งหมด ตั้งแต่ เริ่มต้นจนถึงผลการใช้สื่อ/นวัตกรรม โดยนำรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัยมาเป็นแนวทาง ซึ่งสามารถเขียนได้ทั้ง 4 บท หรือ 5 บท(ส่วนใหญ่เราจะเห็นกัน 5 บท) ในการใช้ชื่อ ผู้เขียนมีเหตุผลอย่างหนึ่งที่ไม่อยากใช้คำว่ารายงานการวิจัย เนื่องจาก รายงานการวิจัย มีรูปแบบ(ทางวิชาการ)ที่เราต้องระมัดระวัง ต้องใช้รูปแบบ,คำพูดให้ถูกต้อง ถ้ารู้ไม่จริงอาจผิดพลาดได้ แต่หากว่าเรามั่นใจ หรือผ่านการเรียนรู้ในเรื่องนี้มาอย่างชัดเจนก็ไม่เป็นปัญหา
ส่วนประกอบของรายงาน(ตามลำดับ)
ปกนอก(หน้าปก)
คือปกแข็งด้านนอกสุด ชื่อเรื่องถ้ายาวเกิน 1 บรรทัด นิยมเขียนให้เป็นรูปจั่วกลับ
รองปก
กระดาษเปล่า ๆ ที่รองทั้งปกหน้าและปกหลัง
ปกใน
เหมือนปกนอกแต่ใช้กระดาษสีขาวธรรมดา
บทคัดย่อ(ถ้ามี คือไม่มีก็ได้)
คำนิยม(ถ้ามี)
คำนำ
เหตุผลที่จัดทำ รายงานกล่าวถึงอะไรบ้าง ทำมาอย่างไร ทำแล้วเกิดประโยชน์อย่างไร
ประกาศคุณูปการ(ถ้ามี)
สารบัญ
ส่วนนี้มักจะต้องทำหลังจากส่วนอื่น ๆ เสร็จ และกำหนดหน้าเรียบร้อยแล้ว
สารบัญตาราง
บางที่เรียกบัญชีตาราง ไล่ไปตามลำดับ(ไม่แยกบท) ถ้ามีตารางไม่มาก ไม่จัดให้มีก็ได้
สารบัญภาพประกอบ(ถ้ามี)
บทที่ 1
บทนี้กล่าวถึง บทนำ ภูมิหลัง ความเป็นมา(เรียกต่าง ๆ กัน) ที่ต้องมีก็คือ ปัญหา วัตถุประสงค์ บทที่ 2
บทนี้นำเสนอข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เรานำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องเรียบเรียงคำพูดของเราเชื่อมโยงไปยังข้อมูล เอกสารที่เรานำมาอ้างอิงโดยวิธีการที่นิยมกันขณะนี้คือการแทรกในเนื้อหา บทนี้ต้องใช้ศิลปะในการนำเสนอพอสมควร
บทที่ 3
บทนี้กล่าวถึงกระบวนการ ขั้นตอนการสร้าง/พัฒนา ตั้งแต่เริ่มลงมือทำ-ทดลองใช้-พัฒนา-หาประสิทธิภาพ-ทดลองใช้-ไปจนถึงการใช้จริง กับใคร ที่ไหน เมื่อไร
ผลเป็นอย่างไร ใช้สถิติอะไร บทที่ 4
กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นจากบทที่ 3 ส่วนใหญ่นำเสนอในรูปข้อมูล
บทที่ 5
บทสรุปจากบทที่ 1 - 4 และมีการอภิปรายผลจากการใช้หรือพัฒนา รวมทั้งข้อเสนอแนะ (ถ้าจัดทำ 4 บท จะรวมบทที่ 3 - 4 เข้าด้วยกัน....แต่บางตำราบอกว่า รวม บทที่ 1-2 หรือ 4-5 เข้าด้วยกัน ทั้งนี้ให้ดูปริมาณของเนื้อหา)
ใบบอกหน้า(หรือหน้าบอกตอน)
เป็นกระดาษสีอื่น พิมพ์ที่กึ่งกลางจากทุกด้านด้วยตัวหนาว่า บรรณานุกรม บรรณานุกรม
ศึกษารูปแบบการเขียนให้ดี เขียนให้เป็นแนวเดียวทั้งเล่ม ใบบอกหน้า(หรือหน้าบอกตอน)
เป็นกระดาษสีอื่น พิมพ์ที่กึ่งกลางจากทุกด้านด้วยตัวหนาว่า ภาคผนวก ก ข ค....
ภาคผนวก
ก ข ค...เช่น คำแนะนำเพิ่มเติม ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเห็นว่าสำคัญแต่ไม่ได้นำเสนอไว้ในบทที่ 1- 5 ไม่ควรมากมายนักเอาเฉพาะที่สำคัญ และภาคผนวกสุดท้ายที่ควรมีคือ ประวัติของผู้เขียน หรือ คณะทำงาน(ถ้าทำกันหลายคน) เพื่อคนอ่านจะได้รู้ว่า เราเป็นใคร อยู่ที่ไหน มีภูมิรู้ขนาดไหน ทุกภาคผนวกก็ควรมีใบบอกหน้า รองปก
ปกนอก(ปกหลัง)
การเขียนรายงานให้ได้ดีต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือต้องเขียนให้คนอ่านแล้วสามารถมองเห็นภาพขั้นการในการดำเนินงานจริง ๆ มีวิธีการใช้ภาษา
(ที่เป็นวิชาการ)ของเราเอง หล่อหลอมกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างสละสลวย ฟังดูแล้วต่อเนื่อง ไม่สับสน วกวน ความสามารถเหล่านี้จะได้มาจากการอ่านแบบสะสม จึงควรอ่านหนังสือมาก ๆ โดยเฉพาะประเภทผลงานทางวิชาการที่มีผู้จัดทำไว้แล้วและมีคุณภาพ อีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ รูปแบบการพิมพ์ ควรหาหนังสือเกี่ยวกับคู่มือการเขียนรายงานไว้สักเล่มสองเล่ม หรือหาทางเข้ารับการอบรมกับหน่วยงาน หรือคณะบุคคลที่เชื่อถือได้
ยังมีเทคนิควิธีการที่จะเล่าสู่กันในโอกาสต่อไป อย่างที่บอกไว้ตอนต้น เรื่องเล่านี้ เล่าจากประสบการณ์ อาจมีข้อบกพร่อง ตกหล่น หากผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ
หน้านี้จะลงลึกถึงรายละเอียดปลีกย่อยของรายงาน เฉพาะส่วนที่สำคัญที่เราควรรู้นะครับ
การพิมพ์ การตั้งค่าหน้ากระดาษ
การตั้งค่าหน้ากระดาษ มีผู้เสนอแนะไว้ใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่จะใช้ขนาดกระดาษ A4 เว้นขอบด้านบน, ด้านซ้าย 1.5 นิ้ว
ด้านขวา, ด้านล่าง เว้นไว้ 1 นิ้ว หากคอมพิวเตอร์เรากำหนดเป็นเซนติเมตร ก็ไปกำหนดเป็นนิ้วเสีย(เครื่องมือ-ตัวเลือก-ทั่วไป) โดยสรุปก็คือส่วนบนและซ้ายมือจะเว้นไว้มากกว่าส่วนล่างและขวามือ
ด้านขวา, ด้านล่าง เว้นไว้ 1 นิ้ว หากคอมพิวเตอร์เรากำหนดเป็นเซนติเมตร ก็ไปกำหนดเป็นนิ้วเสีย(เครื่องมือ-ตัวเลือก-ทั่วไป) โดยสรุปก็คือส่วนบนและซ้ายมือจะเว้นไว้มากกว่าส่วนล่างและขวามือ
การพิมพ์ หลายท่านคงเห็นคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วว่าสามารถตัดคำให้อัตโนมัติ แต่ก็ยังไม่มีความสามารถจำแนก แยกคำในภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ จึงควรระวังการฉีกคำ ก่อนการพิมพ์ให้จัดชิดซ้ายไว้ก่อน เรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์(ได้มาจาก การสร้างเอกสารงานพิมพ์อย่างมีคุณภาพ ในวารสารการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดย บุญเลิศ อรุณพิบูลย์) ที่น่าสนใจมีดังนี้
- เครื่องหมายวงเล็บ, เครื่องหมายคำพูด ควรเว้น 1 ครั้ง(เคาะ)ก่อนเปิดเครื่องหมาย และเว้น 1 ครั้งหลังปิดเครื่องหมาย ข้อความข้างในอยู่ติดกับเครื่องหมาย
- ไม้ยมก, ไปยาลน้อย, จุด, จุดลูกน้ำ, จุดคู่, จุดครึ่ง (;), ควรติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้น 1 ครั้ง
- ไม้ยมก, ไปยาลน้อย, จุด, จุดลูกน้ำ, จุดคู่, จุดครึ่ง (;), ควรติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้น 1 ครั้ง
ควรวางแผนการพิมพ์โดยแยกไฟล์งานในแต่ละส่วนหรือแต่ละบท กรณีที่เราจะไม่แสดงหมายเลขหน้าที่หน้าแรกของบท และเพื่อสะดวกในการทบทวนงาน
ประชากร กลุ่มตัวอย่าง สัมพันธ์กับสถิติที่ใช้อย่างไร
แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้รูปแบบรายงานตามรายงานการวิจัยเต็มรูปแบบก็ตาม แต่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นสิ่งที่เราต้องกล่าวถึง จากที่ทราบแล้วว่า ประชากร หมายถึงกลุ่มสิ่งมีชีวิต(บางที่ก็รวมสิ่งที่ไม่มีชีวิตด้วย)ที่เราต้องการจะนำมาศึกษา ส่วนกลุ่มตัวอย่างจะหมายถึงบางส่วนของประชากรเท่านั้นซึ่งการสุ่มกลุ่มตัวอย่างมีเทคนิค/วิธีการตามหลักวิชาอยู่แล้วจะไม่ขอนำมาเล่าในที่นี้ แต่ในกรณีโรงเรียนขนาดเล็กเราสามารถใช้ประชากรทั้งหมดมาเป็นกลุ่มตัวอย่างได้เลย ตัวอย่างเช่น- ชั้น ป.6 มี 1 ห้องเรียน(ประชากร) ใช้นักเรียนชั้น ป.6 ทั้งชั้นเป็นกลุ่มตัวอย่าง และอีกกรณี
- ชั้น ป.6 มี 3 ห้องเรียน(ประชากร) สุ่ม(ตามวิธีการ)มา 1 ห้องเรียน(หรือ...คน) เป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่สามารถอ้างอิงไปถึงประชากรชั้น ป.6 ทั้ง 3 ห้องเรียน
ที่กล่าวถึงนี้เพราะเกี่ยวข้องกับการใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งจะเล่าต่อไป
ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเก็บรวบรวมได้ในระหว่างดำเนินงานจนจบการดำเนินงานจะต้องนำมาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ จุดนี้ถือเป็นจุดสำคัญที่จะบ่งบอกว่า รายงานของเราใช้สถิติที่เหมาะสมหรือไม่ ก่อนอื่นต้องศึกษาข้อตกลงเบื้องต้น, เงื่อนไข, ข้อกำหนดการใช้สถิติแต่ละตัวกันก่อน
สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล มี 2 ประเภทคือ
1. สถิติบรรยาย (บางที่เรียกสถิติพรรณนา) ใช้อธิบายข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ โดย
- ถ้าอธิบายลักษณะตัวแปรเชิงปริมาณ ใช้ ค่าเฉลี่ย-มัธยฐาน-ฐานนิยม-เปอร์เซนต์ไทม์-เดไซม์-ควอไทม์-พิสัย-ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
-ถ้าอธิบายลักษณะตัวแปรเชิงคุณภาพ ใช้ ร้อยละ-ฐานนิยม
-ถ้าอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ ใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น ส่วนตัวแปรเชิงคุณภาพ ใช้การสร้างตารางไขว้
2. สถิติอ้างอิง ใช้เพื่อนำผลการวิเคราะห์ที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างเพื่ออ้างอิงไปถึงประชากร มี 2 ประเภทคือ
2.1 สถิติมีพารามิเตอร์ เช่น t-test, Z-test, ANOVA, Regression ฯลฯ มีข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้ 3 ประการ คือ ข้อมูลต้องอยู่ในระดับอันตรภาคขึ้นไป ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างต้องมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ และกลุ่มประชากรที่นำมาศึกษาต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน
2.2 สถิติไร้พารามิเตอร์ เช่น ไคสแควร์, Medium Test, Sign Test ฯลฯ ข้อตกลงเบื้องต้นคือ ข้อมูลไม่เป็นไปตาม 2.1
ดูภาพความสัมพันธ์ระหว่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ดูอีกภาพหนึ่ง(ดร.ไพจิตร สดวกการ กรุณาส่งมาให้)

จะเห็นได้ว่าหากเราใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างก็ควรจะใช้เพียงแค่สถิติบรรยายก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติอ้างอิงเพื่อการทดสอบสมมติฐาน แต่หากเราใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่ม(ตามวิธีการ)มาจากประชากรก็ควรใช้ถึงสถิติอ้างอิง (ส่วนการจะเลือกใช้สถิติตัวใด ก็ควรศึกษารูปแบบการใช้จากผลงานที่ผ่านการประเมินคุณภาพมาแล้วประกอบด้วย)จากที่นำเสนอหวังว่าจะช่วยให้เพื่อนครูมองเห็นแนวทางในการพัฒนางานนะครับ ขอเป็นกำลังใจ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่รู้ บางเรื่องที่เรายังไม่รู้ก็ต้องขวนขวายเพื่อให้รู้ ผู้เขียนเองก็ได้ความรู้จากการถามมาไม่น้อยไปกว่าการอ่าน(ยังมีอีกหลายหลายเรื่องที่ยังไม่รู้)
แล้วพบกันใหม่นะครับ
หน้านี้จะเก็บเล็กผสมน้อย เกี่ยวกับการเขียนรายงานเพิ่มเติม (ยังไม่ทั้งหมดนะครับ) นึกอะไรได้ หรือเจออะไรดี ๆ ที่ไหนก็จะมาเขียนเล่าสู่กัน
ช่วยเตือนความจำทั้งคนอ่านและคนเขียนครับ
ช่วยเตือนความจำทั้งคนอ่านและคนเขียนครับ
-ใช้คำในรายงานให้คงที่ ถ้าคำ ๆ นั้นเป็นเรื่องหรือสิ่งเดียวกัน อธิบายว่า คำหรือศัพท์ทางวิชาการที่เรานำมาใช้ต้องใช้ให้เหมือนกัน เช่น การจัดการเรียนรู้-การจัดการเรียนการสอน ใช้คำไหนก็ใช้คำนั้นตลอด เว้นแต่ว่าเป็นข้อความที่เรานำมาอ้างอิง
-ใช้คำพูดแทนตนเองให้เหมาะสม เท่าที่พบเห็นใช้กันว่า ผู้สอน หรือผู้วิจัย
-ถ้าเป็นการแก้ปัญหา ต้องเขียนปัญหาให้ชัดเจน และปัญหาที่นำมาเขียนอยู่ในวิสัยที่เราสามารถแก้ได้ ปัญหาในห้องเรียนของเรา อย่าเลือกปัญหาใหญ่ระดับชาติ
-วัตถุประสงค์ไม่จำเป็นต้องมากข้อ และต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์มาก เราต้องหาคำตอบมาก มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย และผลการดำเนินงานต้องตอบจุดประสงค์ได้ทั้งหมด
-เอกสารอ้างอิงควรให้ทันสมัย เคยอ่านเจอมาว่า ไม่ควรเกิน 7 ปี(จำที่อ่านมาไม่ได้แล้ว)ที่สำคัญ ต้องสอดคล้องกับงาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าใช้เอกสารอ้างอิงเก่าเกินไป
เอกสารอ้างอิงถ้าพิมพ์หลายครั้งต้องใช้ครั้งหลังสุดยกเว้นว่าหาไม่ได้จริง ๆ
-การเรียบเรียงเนื้อหาต้องใช้ภาษาที่กระชับ รัดกุม ตรงประเด็น พิสูจน์อักษรให้ดี อันนี้สำคัญ โดยเฉพาะผลงานกลุ่มสาระภาษาไทยควรจะต้องไม่ผิดเลย
-บทสุดท้าย ต้องมีสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ที่สำคัญต้องใช้ข้อมูลจากการดำเนินงานของเรา -เครื่องมือที่จะใช้เก็บข้อมูลทุกอย่างต้องมีการทดลองใช้ก่อนหรือที่เรียกกันว่า Tryout เพื่อตรวจสอบคุณภาพ คุณภาพของเครื่องมือที่จำเป็นต้องตรวจสอบมี 5 ด้าน ได้แก่ด้านความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ความยากง่าย และอำนาจจำแนก เครื่องมือบางชนิดต้องตรวจสอบทั้ง 5 ด้าน บางชนิดตรวจสอบเพียงบางด้านก็ได้
-พยายามคิดวิธีการที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงวิธีการที่เคยมีคนทำไว้แล้ว หรือวิธีการที่มีคำตอบอยู่แล้ว
-ถ้าเป็นการดำเนินงานลักษณะทดลอง ต้องมีกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบ
-ใช้คำพูดแทนตนเองให้เหมาะสม เท่าที่พบเห็นใช้กันว่า ผู้สอน หรือผู้วิจัย
-ถ้าเป็นการแก้ปัญหา ต้องเขียนปัญหาให้ชัดเจน และปัญหาที่นำมาเขียนอยู่ในวิสัยที่เราสามารถแก้ได้ ปัญหาในห้องเรียนของเรา อย่าเลือกปัญหาใหญ่ระดับชาติ
-วัตถุประสงค์ไม่จำเป็นต้องมากข้อ และต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์มาก เราต้องหาคำตอบมาก มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย และผลการดำเนินงานต้องตอบจุดประสงค์ได้ทั้งหมด
-เอกสารอ้างอิงควรให้ทันสมัย เคยอ่านเจอมาว่า ไม่ควรเกิน 7 ปี(จำที่อ่านมาไม่ได้แล้ว)ที่สำคัญ ต้องสอดคล้องกับงาน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าใช้เอกสารอ้างอิงเก่าเกินไป
เอกสารอ้างอิงถ้าพิมพ์หลายครั้งต้องใช้ครั้งหลังสุดยกเว้นว่าหาไม่ได้จริง ๆ
-การเรียบเรียงเนื้อหาต้องใช้ภาษาที่กระชับ รัดกุม ตรงประเด็น พิสูจน์อักษรให้ดี อันนี้สำคัญ โดยเฉพาะผลงานกลุ่มสาระภาษาไทยควรจะต้องไม่ผิดเลย
-บทสุดท้าย ต้องมีสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ที่สำคัญต้องใช้ข้อมูลจากการดำเนินงานของเรา -เครื่องมือที่จะใช้เก็บข้อมูลทุกอย่างต้องมีการทดลองใช้ก่อนหรือที่เรียกกันว่า Tryout เพื่อตรวจสอบคุณภาพ คุณภาพของเครื่องมือที่จำเป็นต้องตรวจสอบมี 5 ด้าน ได้แก่ด้านความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ความยากง่าย และอำนาจจำแนก เครื่องมือบางชนิดต้องตรวจสอบทั้ง 5 ด้าน บางชนิดตรวจสอบเพียงบางด้านก็ได้
-พยายามคิดวิธีการที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงวิธีการที่เคยมีคนทำไว้แล้ว หรือวิธีการที่มีคำตอบอยู่แล้ว
-ถ้าเป็นการดำเนินงานลักษณะทดลอง ต้องมีกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบ
-ระบบพิมพ์ตัวเลขนำหน้าหัวข้อใช้รูปแบบเดียวกัน
-ถ้ามีรูปหรือภาพประกอบที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องระบุชื่อและที่มา
-เอกสารที่อ้างอิงไว้ทั้งหมด(ของทุกบท)ต้องนำไปรวบรวมเป็นบรรณานุกรม
-จะต้องอ้างอิง ถ้าเราคัดลอกข้อเขียนของคนอื่นมา อันนี้ถือเป็นมารยาท
-ถ้ามีรูปหรือภาพประกอบที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องระบุชื่อและที่มา
-เอกสารที่อ้างอิงไว้ทั้งหมด(ของทุกบท)ต้องนำไปรวบรวมเป็นบรรณานุกรม
-จะต้องอ้างอิง ถ้าเราคัดลอกข้อเขียนของคนอื่นมา อันนี้ถือเป็นมารยาท
- ความมั่นใจในตนเองคือสิ่งสำคัญ ข้อมูลต่าง ๆ ที่เราได้มาจากผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญ หรือ
อ่านมาจากที่ไหน(รวมถึงที่นี่)ก็ตาม เป็นเพียงข้อมูลให้เราตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางใด
พูดง่าย ๆ อย่าเชื่อคนอื่นไปเสียทุกอย่างจนสูญสิ้นความคิดส่วนตัว
อ่านมาจากที่ไหน(รวมถึงที่นี่)ก็ตาม เป็นเพียงข้อมูลให้เราตัดสินใจว่าจะเลือกแนวทางใด
พูดง่าย ๆ อย่าเชื่อคนอื่นไปเสียทุกอย่างจนสูญสิ้นความคิดส่วนตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น